วิตามิน ช่วย ผิว ชุ่มชื่น ผิวเป็นอวัยวะที่ใหญ่ที่สุดของร่างกาย ทำหน้าที่ปกป้องร่างกายจากสิ่งแวดล้อมภายนอก ไม่ว่าจะเป็นวัตถุต่าง ๆ สารเคมี เชื้อโรค แสงแดด หรือแม้กระทั่งการสูญเสียน้ำ ด้วยหน้าที่นี้ วิตามินอะไรช่วยเรื่องผิวขาว ทำให้ผิวหนังเป็นอวัยวะที่ได้รับความเสียหายจากปัจจัยต่าง ๆ มากที่สุด ส่งผลให้สัญญานความแก่ชราปรากฏขึ้นเป็นที่แรก
วิตามินซี วิตามิน ช่วย ผิว ชุ่มชื่น
วิตามิน ช่วย ผิว ชุ่มชื่น เป็นวิตามินที่สำคัญต่อสุขภาพผิว มีหน้าที่ช่วยให้โครงสร้างของคอลลาเจนมีความเสถียร ส่งเสริมการทำงานของยีนส์ที่สร้างคอลลาเจน ผิวแห้ง กินวิตามิน อะไรดี กำจัดอนุมูลอิสระต่าง ๆ ที่เกิดจากมลพิษและแสงแดด และยับยั้งกระบวนการสร้างเมลานิน ลดรอยด่างดำจากงานวิจัยเกี่ยวกับวิตามินซีและสุขภาพผิว พบว่า การรับประทานวิตามินซีทั้งในรูปแบบของผลิตภัณฑ์เสริมอาหารและในรูปแบบอาหาร สามารถช่วยเรื่องความยืดหยุ่น ลดรอยเหี่ยวย่นบนใบหน้า ความหยาบกร้านและสีผิว ช่วยส่งเสริมการหายของแผล ลดรอยแผลเป็น ลดการอักเสบที่ผิวหนัง ลดความเสี่ยงของโรคมะเร็งผิวหนัง โดยทำงานร่วมกับวิตามินอีในกระบวนการต้านอนุมูลอิสระการขาดวิตามินซีทำให้เป็นโรคลักปิดลักเปิด ผิวบาง (Skin Fragility) มีเลือดออกตามไรฟัน และแผลหายช้า ทั้งหมดเกิดจากการสังเคราะห์คอลลาเจนที่เปลี่ยนแปลงไปจากการขาดวิตามินซีโดยปกติผิวจะมีความเข้มข้นของวิตามินซีสูงเมื่อเทียบกับเนื้อเยื่ออื่น ๆ ในร่างกาย โดยพบในชั้นหนังกำพร้า (Epidermal Layer) มากกว่าชั้นหนังแท้ (Dermis) 2-5 เท่า วิตามินซีจะมีปริมาณลดลงในผิวที่แก่ชราและผิวที่ถูกทำลายจากแสง จึงอาจกล่าวได้ว่า ระดับของวิตามินซีในผิวเป็นสิ่งสะท้อนถึงการสัมผัสอนุมูลอิสระที่เพิ่มขึ้น รวมถึงมลพิษและแสง UVแหล่งของวิตามินซี คือ ผักและผลไม้ เช่น ฝรั่ง มะขามป้อม มะขามเทศ เงาะ มะละกอ ส้มโอ พริกหวาน คะน้า บรอกโคลี เป็นต้น กรมอนามัยแนะนำให้ได้รับวิตามินซีต่อวันอยู่ที่ 100 มิลลิกรัมในผู้ชาย และ 85 มิลลิกรัมในผู้หญิง
วิตามินอี
มีความเข้มข้นในชั้นหนังกำพร้ามากกว่าชั้นหนังแท้ มีคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระ เช่นเดียวกับวิตามินซี และเป็นด่านแรกของการป้องกันการสร้างอนุมูลอิสระจากไขมัน (Lipid Peroxidation) ปกป้องเซลล์ไม่ให้ถูกทำลาย กระบวนการต้านอนุมูลอิสระของวิตามินอี ต้องอาศัยกระบวนการของสารอื่นร่วมด้วยอย่าง วิตามินซี ซีลีเนียม เป็นต้น ความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระของวิตามินอี ช่วยปกป้องผิวจากการแก่ชรา และช่วยในการรักษาสภาวะผิวต่าง ๆ เช่น ฝ้า รอยแผลเป็น และผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง หลายงานวิจัยรายงานว่า การรับประทานวิตามินอี 200-1200 IU ต่อวัน ช่วยให้อาการของโรคหนังแข็ง (Scleroderma) ดีขึ้นได้ โดยการลดกระบวนการทำลายเซลล์ตัวเองของภูมิคุ้มกัน ในบางการศึกษา วิตามินอีมีส่วนช่วยให้ฝ้าจางลงได้ จากการยับยั้งกระบวนการสร้างอนุมูลอิสระของไขมันที่เกิดขึ้นและเพิ่มปริมาณของกลูตาไทโอนภายในเซลล์ นอกจากนี้ วิตามินอีมีฤทธิ์ขยายหลอดเลือด สามารถยับยั้งการแข็งตัวของเกล็ดเลือดและโปรตีนที่เกี่ยวข้องกับการอักเสบได้ภาวะขาดวิตามินอีพบได้น้อย มักมีความสัมพันธ์กับโรคที่มีปัญหาในการย่อยและดูดซึมสารอาหารแหล่งของวิตามินอี คือ อาหารจำพวกเมล็ดพืช น้ำมันพืชต่าง ๆ เช่น น้ำมันรำข้าว น้ำมันคาโนลา น้ำมันถั่วเหลือง เป็นต้น
วิตามินบี 3 หรือ Niacin
มีประโยชน์มากมายต่อผิว การทาวิตามินบี 3 ช่วยทำให้เกราะป้องกันของผิวมั่นคงมากขึ้น ลดการสูญเสียน้ำจากผิว และกระตุ้นการสังเคราะห์โปรตีนต่าง ๆ เช่น เคราติน เพิ่มการสังเคราะห์เซราไมด์ (Ceramide) ซึ่งเป็นไขมันที่พบได้ตามธรรมชาติบนผิว มีหน้าที่รักษาความชุ่มชื้นของผิว นอกจากนี้ วิตามินบี 3 ยังใช้ในการรักษาโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง มีผลในการลดสารอักเสบต่างๆ เช่น IL-1β, IL-6, IL-8, TNF จึงถูกใช้เพื่อรักษาสิว ผื่นกุหลาบ และภาวะอักเสบที่ผิวอื่น ๆ รวมถึงการรักษาสิวด้วยการวิจัยที่ทดลองรักษาสิวอักเสบในผู้ป่วย 160 คน โดยใช้ 4% Nicotinamide gel เปรียบเทียบกับ 4% Erythromycin Gel 2 ครั้งต่อวัน เป็นเวลา 8 สัปดาห์ ผลการวิจัยพบว่า ทั้งสองกลุ่มสามารถลดการอักเสบได้ แต่กลุ่มที่ใช้ Nicotinamide Gel ซึ่งมีส่วนผสมของวิตามินบี 3 ช่วยลดภาวะต่อมไขมันผลิตน้ำมันมากเกินไป (Seborrhea) ได้ดีกว่า วิตามินบี 3 มีบทบาทในการซ่อมแซมสายดีเอ็นเอที่ผิดปกติ ช่วยลดความเสี่ยงโรคมะเร็ง การรับประทานวิตามินบี 3 จึงอาจมีบทบาทในการป้องกันมะเร็งผิวหนังได้ การวิจัยเกี่ยวกับการรับประทานวิตามินบี 3 เพื่อชะลอหรือลดการกลายพันธุ์ของเซลล์ที่จะกลายเป็นโรคมะเร็งผิวหนัง พบว่ากลุ่มที่ได้รับวิตามินบี 3 พบเซลล์มะเร็งใหม่ ลดลง 23% หลังจากผ่านไป 12 เดือน เมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุมอีกงานวิจัยแสดงให้เห็นผลของการทา 5% วิตามินบี3 ในผู้หญิง 50 คน ที่ใบหน้ามีสัญญานของความแก่ชราเนื่องจากแสงแดด การศึกษาแสดงให้เห็นว่า สามารถลดริ้วรอย จุดด่างดำ จุดแดง และยังช่วยเรื่องความยืดหยุ่นของผิวอีกด้วยแหล่งอาหารของวิตามินบี 3 คือ ไข่ ปลา เนื้อสัตว์ต่าง ๆ ถั่วเมล็ดแห้ง รำข้าว และยีสต์ นอกจากได้รับจากอาหารแล้ว ร่างกายสามารถสร้างวิตามินบี 3 ได้จากกรดอะมิโนทริปโตเฟน (Tryptophan) แต่การสร้างวิตามินบี 3 จะเกิดปัญหาในผู้ที่ขาดวิตามินบี 1 วิตามินบี 2 และวิตามินบี
วิตามินดี
เป็นวิตามินละลายในไขมัน ลักษณะเหมือนฮอร์โมนสเตียรอยด์ มีความสำคัญในสมดุลแคลเซียมของร่างกาย วิตามินดีเป็นวิตามินที่ได้รับจากแสงแดด มีความสำคัญในระบบภูมิคุ้มกัน ช่วยป้องกันการติดเชื้อ การทาวิตามินดีที่ผิวหนัง ช่วยยับยั้งการสร้างเซลล์ผิวหนังที่มากเกินไป ลดการหนาตัวของผิวหนังบริเวณที่เกิดโรค เช่น โรคสะเก็ดเงิน วิตามินดียังช่วยลดการอักเสบ การหายของแผล ป้องกันผิวหนังจากการถูกทำลายจากแสงแดด ช่วยลดการตายของเซลล์จากแสงแดดได้ถึง 55-70% และภาวะการขาดวิตามินดีส่งผลต่อความรุนแรงของโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง แหล่งของวิตามินดี ในอาหารตามธรรมชาติ เช่น เห็ด ปลาที่มีไขมันสูง ได้แก่ ปลาแซลมอน ปลาทูน่า ปลาเทราท์ ปลาแมคเคอเรล รวมถึงอาหารเสริมสารอาหาร (Fortified Food) เช่น น้ำส้ม นมถั่วเหลือง โยเกิร์ต อาหารเช้าประเภทซีเรียล เป็นต้น